วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วิธีระบบ


        ระบบคือภาพส่วนรวมของโครงสร้างหรือของขบวนการอย่างหนึ่งที่มีการจัดระเบียดความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ที่รวมกันอยู่ในโครงการหรือขบวนการนั้น





ระบบ
   เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทีใช้ในการวางแผนและดำเนินการต่างๆเพื่อให้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ วิธีการระบบมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ คือ
               1. ข้อมูลวัตถุดิบ (Input)
               2. กระบวนการ (Process)
               3. ผลผลิต (Output)
               4. การตรวจผลย้อนกลับ (Feedback)


   วิธีการระบบที่ดี   จะต้องเป็นการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้อย่างประหยัดและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ถ้าระบบใดมีผลผลิตทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพมากกว่าข้อมูล วัตถุดิบที่ป้อนเข้าไป ก็ถือได้ว่าเป็นระบบที่มีคุณภาพ ในทางตรงข้ามถ้าระบบมีผลผลิตที่ต่ำกว่าข้อมูลวัตถุดิบที่ไปใช้ ก็ถือว่าระบบนั้นมีประสิทธิภาพต่ำ






ลักษณะสำคัญของวิธีระบบ
        1. เป็นการทำงานร่วมกันเป็นคณะของบุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบนั้น ๆ
        2. เป็นการแก้ปัญหาโดยการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์
        3. เป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสม
        4. เป็นการแก้ปัญหาใหญ่ โดยแบ่งออกเป็นปัญหาย่อยๆเพื่อสะดวกในการแก้ปัญหาอันจะ                            เป็นผลให้แก้ปัญหาใหญ่ได้สำเร็จ
        5. มุ่งใช้การทดลองให้เห็นจริง
        6. เลือกแก้ปัญหาที่พอจะแก้ไขได้และเป็นปัญหาเร่งด่วนก่อน







องค์ประกอบของระบบประกอบด้วย 3 ส่วนคือ

      1. สิ่งที่ป้อนเข้าไป (Input) หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในกระบวนการหรือโครงการต่างๆ เช่น ในระบบการเรียนการสอนในชั้นเรียน อาจได้แก่ ครู นักเรียน ชั้นเรียน หลักสูตร ตารางสอน วิธีการสอน เป็นต้น ถ้าในเรื่องระบบหายใจ อาจได้แก่ จมูก ปอด กระบังลมอากาศ เป็นต้น


         2. กระบวนการหรือการดำเนินงาน (Process) หมายถึง การนำเอาสิ่งที่ป้อนเข้าไป มาจัดกระทำให้เกิดผลบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ เช่น การสอนของครู หรือการให้นักเรียนทำกิจกรรม เป็นต้น

     3. ผลผลิต หรือการประเมินผล (Output) หมายถึง ผลที่ได้จากการกระทำในขั้นที่สอง ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หรือผลงานของนักเรียน เป็นต้น






 การวิเคราะห์ระบบ ( (System Analysis )การกระทำหลังจากผลที่ได้ออกมาแล้วเป็นการปรับปรุงระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพขึ้นข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลมาใช้แก้ไขข้อบกพร่องในส่วนต่าง ๆ หรือ การดูข้อมูลย้อนกับ ( Feedback ) ดังนั้นการนำข้อมูลย้อนกลับมาใช้ในการวิเคราะห์ระบบจึงเป็นส่วนสำคัญของวิธีระบบ ( System Approach) ซึ่งจะขาดองค์ประกอบนี้ไม่ได้มิฉะนั้นจะไม่ก่อให้เกิดการแก้ปัญหาได้ตรงเป้าหมายและการปรับปรุงที่มีประสิทธิภาพ





ขั้นตอนของการวิเคราะห์ระบบ
          1. ปัญหา (Identify Problem)
          2.จุดมุ่งหมาย (Objectives)
          3. ศึกษาข้อจำกัดต่าง ๆ (Constraints)
          4. ทางเลือก (Alternatives)
          5. การพิจารณาทางเลือกที่เหมาะสม (Selection)
          6. การทดลองปฏิบัติ (Implementation)
          7. การประเมินผล (Evaluation)
          8. การปรับปรุงแก้ไข (Modification)






ลักษณะของระบบที่ดี
     ระบบที่ดีต้องสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ( efficiency) และมีความยั่งยืน (sustainable) ต้องมีลักษณะ 4 ประการคือ

                 1. มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม (interact with environment)
                  2. มีจุดหมายหรือเป้าประสงค์ (purpose)
                  3. มีการรักษาสภาพตนเอง (self-regulation)
                  4. มีการแก้ไขตนเอง (self-correction)




ระบบเปิดและระบบปิด
ระบบเปิด ( Open System ) คือ ระบบที่รับปัจจัยนำเข้า จากสิ่งแวดล้อม และขณะเดียวกันก็ส่งผลผลิต กลับไปให้สิ่งแวดล้อมอีกครั้งหนึ่ง ตัวอย่างระบบเปิดทั่ว ๆ ไป เช่น ระบบสังคม ระบบการศึกษา ระบบหายใจ ฯลฯ

ระบบปิด ( Close System ) คือ ระบบที่มิได้รับปัจจัยนำเข้าจากสิ่งแวดล้อม หรือรับปัจจัยนำเข้าจากสิ่งแวดล้อมน้อยมาก แต่ขณะเดียวกันระบบปิดจะผลิตเอาท์พุทให้กับสิ่งแวดล้อมด้วย เช่น ระบบของถ่านไฟฉาย ระบบปิดจะมีอายุสั้นกว่าระบบเปิด เนื่องจากระบบปิดนั้นทำหน้าที่เพียงแต่เป็น "ผู้ให้" เท่านั้น







วิธีระบบที่นำมาใช้ในการสอนประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้
          1. การประเมินความจำเป็น
          2. การเลือกทางแก้ปัญหา
          3. การตั้งจุดมุ่งหมายทางการสอน
          4. การวิเคราะห์งานและเนื้อหาที่จำเป็นต่อผลสัมฤทธิ์ตามจุดมุ่งหมาย
          5. การเลือกยุทธศาสตร์การสอน
          6. การลำดับขั้นตอนของการสอน
          7. การเลือกสื่อ
          8. การจัดหรือกำหนดแหล่งทรัพยากรที่จำเป็น
          9. การทดสอบ และ/หรือ ประเมินค่าประสิทธิภาพของแหล่งทรัพยากรเหล่านั้น
         10. การปรับปรุงแก้ไขแหล่งทรัพยากรจนกว่าจะเกิดประสิทธิภาพ
         11. การเดินตามวัฏจักรของกระบวนการทั้งหมดซ้ำอีก






 กระบวนการ ( Process )
ในระบบการเรียนการสอนก็คือ การดำเนินการสอนซึ่งเป็นการนำเอาตัวป้อนเป็นวัตถุดิบในระบบมาดำเนินการเพื่อให้เกิดผลผลิตตามที่ต้องการ ในการดำเนินการสอนอาจมีกิจกรรต่างๆ หลายกิจกรรม ได้แก่ การตรวจสอบและเสริมพื้นฐานการสร้างความพร้อมในการเรียน การใช้เทคนิคการสอนต่าง ๆและอาจใช้กิจกรรมเสริมการตรวจสอบและเสริมพื้นฐาน เป็นกิจกรรมที่ทำให้ผู้สอนรู้จักผู้เรียนและได้ข้อสนเทศที่นำมาใช้ช่วยเหลือผู้เรียนที่ยังขาดพื้นฐานที่จำเป็นก่อนเรียน ให้ได้มีพื้นฐานที่พร้อมที่จะเรียนโดยไม่มีปัญหาใดๆ



ผลผลิต ( Output )
       ผลผลิต คือ ผลที่เกิดขึ้นในระบบซึ่งเป็นเป้าหมายปลายทางของระบบ สำหรับระบบการเรียนการสอนผลผลิตที่ต้องการก็คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนไปในทางที่พึ่งประสงค์ เป็นการพัฒนาที่ดีในด้าน

                  -พุทธิพิสัย (Cognitive)
                  -จิตพิสัย (Affective)
                 -ทักษะพิสัย (Psychomotor)